วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

                     ศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism)              
          
            ศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์  จะมุ่งเน้นถึงการวาดภาพที่จับซึ่งสายตาสัมผัสรับรู้ในช่วง ณ.เวลานั้นและเป็นช่วงเวลาที่ฉับพลัน และจะมีการแยกแยะสีที่จะเข้ามาประกอบกันเข้าเป็นแสงที่ส่องต้องสิ่งต่าง ๆ ทำให้เกิดพื้นผิวภาพที่เต็มไปด้วยสีสันที่แปรเปลี่ยนเป็นภาพที่เต็มไปด้วยความเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง 
              ลักษณะของภาพวาดแบบอิมเพรสชั่นนิสม์ คือ การใช้พู่กันตระหวัดสีอย่างเข้ม ๆ ใช้สีสว่าง ๆ  มีส่วนประกอบของภาพที่ไม่ถูกบีบ เน้นไปยังคุณภาพที่แปรผันของแสง (มักจะเน้นไปยังผลลัพธ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเวลา) เนื้อหาของภาพเป็นเรื่องธรรมดาๆ และมีมุมมองที่พิเศษ
            
            จิตรกรแนวอิมเพรสชั่นนิสม์ ได้ฉีกกรอบการวาดที่มาตั้งแต่อดีต มักจะวาดภาพกลางแจ้งมากกว่าในห้องสตูดิโออย่างที่ศิลปินทั่วไปนิยมกัน  เพื่อที่จะลอกเลียนแสงที่แปรเปลี่ยนอยู่เสมอในมุมมองต่าง ๆ




            ภาพวาดแบบอิมเพรสชั่นนิสม์ ประกอบด้วยการตระหวัดพู่กันแบบเป็นเส้นสั้น ๆ ของสี  ไม่ได้ผสมหรือแยกเป็นสีใดสีหนึ่ง  ซึ่งได้ให้ภาพที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและมีชีวิตชีวา พื้นผิวของภาพวาดนั้นมักจะเกิดจากการระบายสีแบบหนา ๆ  องค์ประกอบของอิมเพรสชั่นนิสม์ ยังถูกทำให้ง่ายและแปลกใหม่ และจะเน้นไปยังมุมมองแบบกว้างๆ มากกว่ารายละเอียด
            
           ศิลปินที่สำคัญของกลุ่มอิมเพรสชันนิสม์ ได้แก่ โคลด โมเนต์ (Claude Monet)  ซิสเลย์ (Alfred Sisley) เดอกาส์(Edgar Degas)  ปิซาโร (Camille Pissarro)  เรอนัว (Pierre-Auguste Renoir)  มาเนต์ (Edouard Manet)

Claude Monet : Sunrise (ค.ศ. 1872-1873)


Alfred Sisley. Bridge at Villeneuve-la-Garenne. 
                                         C 1872. New York: Metropolitan Museum of Art.


Edgar Degas, ผู้หญิงอาบน้ำ (Woman in the Bath) ค.ศ. 1886, 
                            พิพิธภัณฑ์ฮิลสเตด, ฟาร์มมิงตัน, มลรัฐคอนเนตทิคัต, สหรัฐอเมริกา


Camille Pissarro, The garden of Pontoise, C 1875


Pierre-Auguste Renoir, The Luncheon of the Boating Party. C 1881.


มาเนต์ (Edouard Manet), The Luncheon on the Grass 
                                            (Le déjeuner sur l'herbe), 1863.



ที่มา : http://www.ipesk.ac.th/ipesk/VISUALART/lesson444.html